“ฟันหัก” เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกใจและอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด สิ่งสำคัญคือต้องรู้วิธีรับมือกับสถานการณ์นี้ให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาฟันให้คงอยู่ต่อไป ในบทความนี้จะพามารู้ทันอาการฟันหัก แนะนำวิธีการรับมือเมื่อฟันหักต้องทำไงในเบื้องต้น และแนวทางการรักษาฟันหัก เพื่อให้สามารถผ่านพ้นสถานการณ์นี้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
Table of Contents
Toggleอาการฟันหัก
ฟันหัก เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน โดยฟันที่หักในแต่ละสถานการณ์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยทั่วไปแล้วอาการที่พบบ่อย มีดังนี้
- รู้สึกเจ็บหรือเสียวฟัน
- มีเลือดออกบริเวณที่ฟันหัก
- รู้สึกฟันขยับหรือมีฟันคมในปาก
- เคี้ยวอาหารลำบาก
- มีฟันส่วนหนึ่งหายไป
ฟันหัก เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
ฟันหักมีสาเหตุปัจจัยเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับอุบัติเหตุ ฟันเสื่อมสภาพ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- อุบัติเหตุ รถชน เล่นกีฬา หกล้ม
- ฟันหักจากการเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น ถั่ว น้ำแข็ง ลูกอม
- วัสดุอุดฟันแตก จากฟันที่มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่
- ฟันเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 50 ขึ้นไป
- คนไข้มีฟันผุ
เหตุใดฟันหักจึงเป็นปัญหาที่น่ากังวล ?
ฟันหักไม่เพียงแต่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ แต่ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงตามมาได้ เช่น
- การติดเชื้อ : เมื่อฟันหัก บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะเปิดโอกาสให้แบคทีเรียเข้าไปสะสมและก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
- อาการปวดฟัน : การหักของฟันอาจทำให้เส้นประสาทถูกกระตุ้น เกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรง
- สูญเสียฟัน : หากปล่อยให้ฟันหักไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียฟันซี่นั้นไปในที่สุด
ขั้นตอนการรับมือเมื่อฟันหักต้องทำยังไงในเบื้องต้น
ฟันหัก เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงความมั่นใจของคุณได้ ดังนั้นการรู้วิธีจัดการเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมได้ โดยมีขั้นตอนการรับมือที่ควรทำ ดังนี้
บรรเทาอาการปวด
หากมีอาการเจ็บปวดจากฟันหัก ให้รับประทานยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน สามารถช่วยลดอาการปวดให้น้อยลงได้ จากนั้นทำการบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นจะช่วยลดการอักเสบและป้องกันการติดเชื้อ
ระมัดระวังการรับประทานอาหาร
หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่หักกัดหรือบดเคี้ยวอาหาร เพื่อป้องกันการสูญเสียฟัน รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนหรือเย็นจัด เพราะอาจกระตุ้นอาการเสียวฟัน โดยแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารอ่อนนุ่มที่เคี้ยวง่าย เช่น อาหารประเภทซุป โจ๊ก หรืออาหารบด เพื่อลดแรงกดบริเวณฟันที่หัก
ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม
หากชิ้นส่วนฟันที่เหลือมีลักษณะแหลมคม หรือขรุขระ ให้ใช้หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลหุ้มฟันไว้ชั่วคราว จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม โดยวิธีนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
พบทันตแพทย์โดยเร็ว
ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม โดยทันตแพทย์จะประเมินความเสียหายและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การอุดฟัน การครอบฟัน หรือการรักษารากฟัน
การปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ อย่างไรก็ตาม การพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาฟันหักได้ดีที่สุด
ฟันหัก รักษายังไง ?
ฟันหัก ทำไงดี ? การรักษาฟันหักขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งที่ฟันหัก ทันตแพทย์จะประเมินอาการและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยมีวิธีการบูรณะฟันหลังจากที่หักไปแล้ว ดังนี้
ต่อฟันหัก
เหมาะสำหรับกรณีที่มีชิ้นส่วนฟันหักแยกออกมาเพียงเล็กน้อย มีรอยร้าวบริเวณชั้นเคลือบฟัน หรือหักบริเวณด้านบน โดยไม่ลึกถึงชั้นรากฟัน ทันตแพทย์จะใช้วัสดุพิเศษยึดชิ้นส่วนฟันเข้าด้วยกัน อุดปิดคลองรากฟัน และบูรณะให้ฟันกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์
อุดฟัน
ใช้ในกรณีที่การต่อฟันไม่สามารถทำได้ หรือไม่มีส่วนฟันให้ต่อ ทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันที่มีสีใกล้เคียงฟันจริง หรือวัสดุอุดสีเงิน เติมบริเวณที่หักและปรับแต่งรูปร่างให้เข้ากับฟันเดิม
ครอบฟัน
เป็นวิธีการบูรณะฟันที่เหมาะสำหรับฟันที่หักค่อนข้างมาก มีเนื้อฟันเดิมเหลือน้อย จนไม่สามารถอุดฟันได้ โดยทันตแพทย์จะสวมครอบฟันที่ทำจากเซรามิกล้วน พอร์ซเลน หรือโลหะ เพื่อปกป้องและคืนรูปร่างฟันที่สวยงาม
รักษารากฟัน
เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับฟันหักถึงรากฟัน ทันตแพทย์จะทำการรักษารากฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อในภายหลัง จากนั้นจึงอุดปิดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาแข็งแรงและสวยงาม
วีเนียร์
ฟันหัก รักษายังไงดี ขอแนะนำ วีเนียร์ เทคโนโลยีรักษาฟันยอดนิยม เหมาะสำหรับฟันหน้าที่หักหรือแตกร้าว ทันตแพทย์จะใช้วัสดุที่ทำเป็นแผ่นรูปทรงฟันบาง ๆ ติดทับหน้าฟันเพื่อปรับปรุงรูปร่างและสีของฟัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการครอบฟันแต่ยังอยากเก็บเนื้อฟันเดิมไว้
ทั้งนี้ การเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะการหักของฟัน ตำแหน่ง และสภาพโดยรวมในช่องปากของผู้ป่วย
เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ทำให้ฟันหัก ไม่ควรปล่อยไว้นาน ต้องเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อมีโอกาสติดฟันที่หักให้กลับมาเหมือนเดิม สำหรับคนที่สนใจเข้ารับการรักษาฟันหัก การทำฟันวีเนียร์ คือการรักษาที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่หากยังไม่รู้ว่าจะทำวีเนียร์ที่ไหนดี ขอแนะนำ About Tooth Dental คลินิกทันตกรรมที่มีบริการทำวีเนียร์ ใช้วัสดุคุณภาพสูง ให้บริการโดยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญการ และเครื่องมือที่ทันสมัย
หากสนใจสามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับทันตแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 080-481-5555 และ LINE : @abouttooth (มี @ ด้วย) หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ของคลินิก About Tooth Dental
แหล่งอ้างอิง
- First aid for teeth. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 จาก https://info.health.nz/keeping-healthy/teeth-and-gums/first-aid-for-teeth
- รับมือกับฟันหักอย่างไรให้ถูกวิธี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 จาก https://www.pobpad.com/รับมือกับฟันหักอย่างไร
ทพญ. ปภัทสรา วีระพล ทันตแพทย์ด้านทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมรากฟันเทียม และเฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ (วีเนียร์ ฟันปลอม) สำเร็จการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับ 2 ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีประสบการณ์การทำงานยาวนานและได้รับประกาศนียบัตรทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง รวมไปถึงใบรับรองผู้ให้บริการจัดฟันแบบใส Invisalign ระดับ Platinum Provider 2021 และ Zenyum ระดับ Star tier 2023
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง About Tooth Dental Clinic ซึ่งได้รับรางวัล World Class Award 2021 สาขา The Best of International Healthy Business ตลอดจนดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย (TADI) และสมาคมทันตกรรมประดิษฐ์ไทย (Prosthodontic)